Search for:
วิธีเข้าใช้งาน phpmyadmin ใน DirectAdmin
วิธีเข้าใช้งาน phpmyadmin ใน DirectAdmin
วิธีเข้าใช้งาน phpmyadmin ใน DirectAdmin

หลังจากที่สร้างฐานข้อมูล MySQL ใน DirectAdmin เรียบร้อยแล้ว การเข้าใช้งานในฐานข้อมูล สามารถทำได้ง่ายๆ โดยไปที่หน้าจัดการโฮสติ้ง http://www.yourdomain.com;222 และใส่ username และ password

จากนั้นให้เลื่อนลงและหา Section บริการ Extra Features และเลือก phpmyadmin เพื่อให้ระบบนำไปสู่หน้าจัดการฐานข้อมูล จากนั้นก็ใส่ชื่อผู้ใช้ฐานข้อมูล และรหัสผ่าน เพียงแค่นี้ก็สามารถเข้าจัดฐานข้อมูลของคุณง่ายๆ

รีเซ็ทรหัสผ่าน DirectAdmin
รีเซ็ทรหัสผ่าน DirectAdmin
รีเซ็ทรหัสผ่าน DirectAdmin

สำหรับลูกค้าที่ได้รับ Username และ Password เรียบร้อยแล้ว สามารถเปลี่ยนแปลงรหัสผ่านง่ายๆ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.yourdomain.com:2222 จากนั้นใส่ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านที่ได้รับจากทางร้าน เพื่อเข้าแก้ไขรหัสผ่านใหม่ตามที่ต้องการ

จากนั้นให้สังเกตที่มุมบนด้านขวา คลกตรงชื่อ User ระบบจะแสดง Popup ลงมา จากนั้นเลือก Password เพื่อต้องการรีเซ็ทรหัสผ่าน โดยในช่อง Current DirectAdmin Passowrd ให้ใส่รหัสผ่านเดิมที่ได้รับจากร้าน และในช่อง Enter new Password ให้ใส่รหัสผ่านใหม่ที่ท่านต้องการ โดยแนะนำให้ใส่ในรูปแบบ A-Z ผสมกับ 1-0

สำหรับการรีเซ็ทรหัสผ่าน หากทำเครื่องหมายถูกที่หน้า DirectAdmin Account Main FTP Account หรือ Main Database Account ระบบจะทำรีเซ็ทรหัสผ่านให้ทั้งหมด หากไม่ต้องการรีเซ็ทรหัสผ่านในส่วนอื่นๆ ให้นำเครื่องหมายถูกออก เพียงแค่นี้ระบบจะจัดการรีเซ็ทรหัสผ่านให้อัตโนมัติ
สร้างฐานข้อมูล MySQL ใน DirectAdmin
สร้างฐานข้อมูล MySQL ใน DirectAdmin
สร้างฐานข้อมูล MySQL ใน DirectAdmin

การสร้างเว็บไซต์ที่ต้องการจัดเก็บข้อมูลเข้าฐานข้อมูล มีโปรแกรมเลือกให้จัดเก็บมากมายหลายซอฟแวร์ให้เลือกใช้ ทางเลือกหนึ่งคือฐานข้อมูล MySQL ที่เป็นฟรีโอเพนซอร์ซ โดยใน DirectAdmin จะมีฐานข้อมูลดังกล่าวไว้ให้ใช้งาน

โดยให้ไปที่หน้าจัดการ Hosting และเลือก MySQL Management และเลือก Create new database เลือกสร้างฐานข้อมูลใหม่ จากนั้นให้ใส่ข้อมูลต่อไปนี้

Database Name: ให้ใส่ชื่อของฐานข้อมูล แนะนำให้ใส่ตัวอักษร A-Z ผสมกับตัวเลข จำนวน 6-8 ตัวอักษร

Database User; ให้ใส่ชื่อผู้ใช้งาน (สามารถใส่ชื่อเดียวกับชื่อฐานข้อมูล)

Database Password: กำหนดรหัสผ่านของฐานข้อมูล โดยกำหนดเป็นตัวอักษร A-Z ผสมกับตัวเลข (สามารถให้ระบบ Generate ได้เช่นกัน โดยกดที่รูปลูกเต๋า)

เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้ว และกด Create Database ระบบจะสร้างฐานข้อมูลและแสดง Pop up ยืนยันข้อมูลของฐานข้อมูล ให้ทำการ Capture หน้าจอหรือก็อปปี้ข้อมูลใส่ Microsoft Word หรือ notepad เพื่อเก็บไว้ดู

สร้างบัญชี Forwarders อีเมล์ใน DirectAdmin
สร้างบัญชี Forwarders อีเมล์ใน DirectAdmin
สร้างบัญชี Forwarders อีเมล์ใน DirectAdmin

การ Forwarders อีเมล์ เป็นการส่งต่ออีเมล์ไปยังบัญชีผู้ใช้รายอื่น โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีอีเมล์จริงอยู่ก็ได้ เช่น [email protected] และต้องการส่งต่อให้กับพนักงานในฝ่ายขาย โดยไม่จำเป็นต้องสร้างบัญชีผู้ใช้งานจริง เพียงแค่นี้ก็สามารถได้รับอีเมล์ทุกฉบับที่ส่งมาถึงฝ่ายขายทั้งทีม

สำหรับการตั้งค่า ให้ผู้ดูแลไปที่ระบบจัดการโฮสติ้ง https://www.yourdomai.com:2222 จากนั้น ให้ดูในส่วนของ Email Manager และเลือก Email Accounts และเลือก Forwarders เมื่อคลิกเข้าไประบบจะแสดงรายการ Forwarders ที่ถูกสร้างไว้ หากไม่มีจะว่างเปล่า ในส่วนนี้ผู้ดูแลจะสามารถกำหนดชื่อเฉพาะของอีเมล์ต้องที่การส่งต่อได้

ในกรณีที่ต้องการส่งต่ออีเมล์ [email protected] ไปยังอีเมล์บัญชีอื่นหรือพนักงานในทีมฝ่ายขาย สามารถกด Create E-mail Forwarders จากให้ผู้สร้างใส่ชื่ออีเมล์ที่ต้องการส่งต่อ และเลือกประเภทปลายทาง (Add Destination) เช่น Email, Pipe, :blackhole: หรือ :fail: ในกรณีที่ต้องการส่งไปยังปลายทางที่อีเมล์มีอยู่จริง ให้ทำการเลือก Email และใส่อีเมล์ของผู้ใช้งานที่ต้องการส่งถึงในช่องที่ 3

เมื่อกำหนดข้อมูลต่างๆ ครบทุกช่องแล้ว ให้กดปุ่ม Create เพียงแค่นี้ก็สามารถได้รับอีเมล์ที่ไม่มีอยู่ในจริงภายใต้โดเมนเนมของเรา ไม่พลาดทุกข้อมูลการติดต่อด้วยอีเมล์

การเพิ่ม DNS Record
การเพิ่ม DNS Record
การเพิ่ม DNS Record

DNS Record เปรียบเสมือนสมุดโทรศัพท์ของเว็บไซต์ ที่จะเชื่อมโยงการตั้งค่าโดเมนเนมเพื่อเชื่อมต่อไปยัง Server ต่างๆ ไว้อย่างมากมาย โดยระบบจะแปลงค่าให้อัตโนมัติ เช่น เรียก mail.domainname.com โดยแปลงค่าไปที่ Server IP: 123.456.78.9

การตั้งค่า DNS Management สามารถเข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์ https://www.yourdomain.com:2222 และใส่ชื่อผู้ใช้งาน (Username) พร้อมรหัสผ่าน (Password) หลังจากล็อกอินเข้าได้แล้ว ให้ดูที่หัวข้อ Account Manager และเลือก DNS Management เมื่อเข้าไปจะพบค่า DNS มาตรฐานที่ทางผู้ให้บริการโฮสติ้งตั้งค่าไว้ให้อยู่แล้ว หรือหากใครต้องเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ ก็สามารถทำได้ในส่วนนี้เช่นกัน

การเพิ่ม DNS Record สามารถทำได้โดยที่ปุม Add Record จากนั้นระบบจะแสดง Popup สำหรับใส่ค่าที่ต้องการใช้งาน ได้แก่

  • A: เรคคอร์ด DNS หลักที่ใช้ในการเชื่อมต่อโดเมนของคุณกับที่อยู่ IP ที่นำผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์
  • โดเมนย่อย: เรคคอร์ด DNS ใดๆ ที่อยู่ในคำนำหน้าชื่อโดเมนของคุณ เช่น blog.youdomain.com คุณสามารถสร้างโดเมนย่อยได้โดยใช้เรคคอร์ด A ที่ชี้ไปยังที่อยู่ IP (ซึ่งพบบ่อยที่สุด) CNAME ที่ชี้ไปยัง URL หรือแม้แต่ระเบียนข้อมูล MX 
  • CNAME: ประเภทของเรคคอร์ดที่เพิ่มคำนำหน้าชื่อโดเมนของคุณ และบางครั้งเรียกว่าโดเมนย่อยประเภทหนึ่ง แต่ CNAME ไม่สามารถชี้ไปยังที่อยู่ IP ได้ แต่สามารถชี้ไปยังชื่อโดเมนหรือที่อยู่ URL อื่นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น คุณสามารถสร้าง CNAME สำหรับ store.domainA.com ที่ชี้ไปยัง URL อื่น
  • MX: จัดการที่อยู่อีเมลของคุณและจัดการข้อความอีเมลของคุณให้ไปถึงกล่องจดหมายของคุณ บริการอีเมลที่แตกต่างกันจะใช้ระเบียนข้อมูล MX ที่แตกต่างกัน
  • TXT: ช่วยให้คุณยืนยันความเป็นเจ้าของโดเมนและตั้งค่านโยบายผู้ส่งอีเมลได้ เช่น Gmail หรือ Hotmail

หากต้องการกำหนดค่าใด ก็สามารถเลือก Record จาก Dropdown list ได้และใส่ค่าต่างๆ ต่างช่องที่ระบบถาม เพียงแค่การตั้งค่าต่างๆ ก็เรียบร้อย แต่การเพิ่มหรือการอัพเดท DNS นั้นจะต้องรอให้ระบบ DNS Server อัพเดทข้อมูลอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง เป็นอย่างช้า

วิธีการเพิ่มบทความ WordPress
WordPress เพิ่มบทความง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน

WordPress เพิ่มบทความง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน มาดูวิธีการเพิ่มบทความใน WordPress เพื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของเรา ทำได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนต่อไปนี้

Read More